Monday, January 28, 2019

Read&Write : แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร : Chapter 1

(Photo : tmc.rmutt.ac.th)


แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร
แบ่งออกเป็น 4ตอน
รอบนี้เป็นตอนที่1 ไปลุยกัน
--------


ตรงนี้ก็ไม่ค่อยมีอะไรมาก เป็นเรื่อง "ความหมายและความสำคัญของการบริหาร"
-- สรุปง่ายๆความหมายของการบริหารคือ
การเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นเป้าหมายเพื่อความชัดเจน ฝ่ายปฏิบัติจะได้สามารถจัดการได้ต่อไป
-- ส่วนกระบวนการบริหารก็มี วางแผนกำหนดนโยบาย จัดการบุคลากร
นึกภาพท่านผู้นำ หรือCEO หรือนายกก็ได้ อะไรที่เป็นผู้นำของสิ่งใหญ่ๆนั่นแหละ

แต่มีข้อสำคัญที่ทำให้แตกต่างกับผู้จัดการตรงที่
ผู้บริหารต้องดำเนินสิ่งเหล่านั้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด
และงานนั้นต้องต่อเนื่องเป็นระบบ
และเติบโตต่อไปได้ด้วยการร่วมมือกันของทุกฝ่าย
คือไม่ใช่สักแต่จะใช้งาน
แต่ต้องรู้จักจูงใจฝ่ายต่างๆให้ร่วมประสานงานกันจนลุล่วง
--------------


ตรงนี้ก็ไม่ค่อยมีอะไรเช่นกัน เป็นเรื่องคำว่า "องค์การ กับ องค์กร"
สรุปง่ายๆ องค์กรคือส่วนย่อยขององค์การ
องค์กร ภาษาอังกฤษ Organ
องค์การ ภาษอังกฤษ Organization
องค์การจะจัดระเบียบสิ่งที่ทำหน้าที่แตกต่างกันให้สัมพันธ์กันประสานกันไปตามเป้าหมายร่วมกัน
เปรียบเทียบองค์กรเป็นฟันเฟืองต่างๆทำหน้าที่แตกต่างกันไปพอนำมาประกอบกันและทำให้มันใช้งานได้อย่างเป็นระบบระเบียบนั่นก็คือ องค์การ โดยอาศัยหลักการบริหาร
------------------


ส่วนนี้ก็เป็นเรื่อง "ความเหมือนและแตกต่างระหว่างองค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน"
เรื่องนี้โดยสรุปองค์การทั้งสองเนี่ยมีหลักการใหญ่ๆเหมือนกันเลย
เพียงแต่ในรายละเอียดปลีกย่อยนั้นมีความแตกต่างกัน เดียวจะยกตัวอย่างดู เช่น
-- วัตถุประสงค์และเป้าหมายอันนี้ชัดเจนเลย
รัฐต้องสร้างความเท่าเทียม และความผาสุกของประชาชน
เอกชนมุ่งเน้นกำไรเป็นหลัก เรื่องรองก็ช่วยเหลือสังคมเล็กน้อย
-- เงื่อนไขสำคัญของกลไกการบริหาร
รัฐนี่กลไกการเมืองมักเข้ามาชี้นำการบริหารมากกว่าประชาชน
เอกชนจะถูกชี้นำด้วยกลไกการตลาด ที่ถูกกำหนดด้วยความพึงพอใจของลูกค้า(ประชาชนนั่นเอง)
-- ทิศทางองค์การ
รัฐนี่ก็มักถูกแทรงแซงจากการเมือง เพื่อความอยู่รอดของนักการเมือง
เอกชนสามารถกำหนดทิศทางเองได้ เพื่อความอยู่รอดขององค์การ

แล้วก็ยังมีความแตกต่างเรื่องอื่นๆอีกเช่น
ความไวต่อสภาพแวดล้อมทางการตลาด
สภาพแวดล้อมทางด้านกฏระเบียบที่ใช้ควบคุมก็ต่างกัน
โครงสร้างภายในและกระบวนการทำงานก็ต่างกัน
ความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทั้งหมดส่งผลให้ทั้งสององค์การมีนโยบาย กระบวนการปฏิบัติและการพัฒนาไปในทิศทางที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

เค้าได้ยกตัวอย่างนโยบายค่าแรง300บาทขึ้นมาด้วย คิดว่าหมายถึงส่งผลดีต่อรัฐ
แต่ส่งผลเสียต่อภาคเอกชนมากจนต้องหากลยุทธ์และปรับตัวเพื่ออยู่รอด
และเค้ายกเรื่องรถคันแรกมา ว่าส่งผลเสียต่องบประมาณภาครัฐกว่าแสนล้านบาท
แต่ส่งผลดีต่อภาคเอกชน เหมือนว่าจะสลับๆกันไป
------------------------


แต่เราคิดว่าถ้ามองเป็นรายองค์กรแล้วดูท่าจะ เอิ่มมม
แต่ถ้ามองในมุมองค์การก็คงดีละมั้ง ฮ่าๆๆ
อันนี้ไม่ได้โยงการเมืองอะไรนะ หนังสือเขียนมาว่าไปตามนั้น ไม่ดราม่าดักไว้ก่อน

ครั้งต่อไปคิดว่าคงเป็นเรื่องการบริหารเต็มๆแล้ว
ครั้งนี้เป็นแค่การเกริ่นนำเรื่องเฉยๆ
รายละเอียดเลยยังไม่เยอะ




ปล. ทั้งหมดเขียนตามความเข้าใจล้วนๆ อันไหนเข้าใจผิดขอภัยด้วย วันไหนเข้าใจถูกจะเข้ามาแก้ไขให้ถูกต้องที่สุดต่อไป




















“ As I enter a new phase of life and my circle broadens, I start learning new things. ” : Kapil Dev


Goodluck,
Introvert man.

No comments:

Post a Comment