Wednesday, January 30, 2019

Read&Write : แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร : Chapter 2-2

(Photo : pubpab.com)


แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร
แบ่งออกเป็น 4ตอน
รอบนี้เป็นตอนที่2
แยกย่อยออกเป็น 2-1 และ 2-2
เนื้อหาเยอะเดียวอ่านกันตาลาย
ไปลุยตอนที่ 2-2 กันเลย
ตอนนี้จะยาวหน่อย แต่สรุปมาแล้วจริงๆนะ
หรือถ้าขี้เกียจอ่านทั้งหมดข้ามไปอ่านสรุปของแต่ละตอนได้เลย
--------


วิวัฒนาการของการบริหารมี2แบบ
--------

1.) "แนวคิดการบริหารในอดีต" มนุษย์เรียนรู้การบริหารมานานมากแล้ว บางยุคมีความก้าวหน้าในการบริหารที่ต้องควบคุมคนเป็นจำนวนมากๆ

อาณาจักรมายา : เชื่อเรื่องเทพมากๆ มีการสร้างพีระมิดบูชาเป็นยอดแบบแบนราบมีทั้งความสูงและขนาดความใหญ่โต ความซับซ้อนและความสวยงามจากการแกะสลักแทบทุกด้าน

ชาวแอชเท็ก : เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากอเมริกาตอนเหนือ ชาวแอชเท็กทำสงครามกับรอบข้างเพื่อปกป้องอาณาเขตที่อุดมสมบูรณ์ ชาวแอชเท็กมีชื่อเสียงด้านเกษตรกรรม สามารถสร้างสวนลอยน้ำเพื่อทำการปลูกพืช

อียิปต์ยุคราชวงศ์ : เป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์ มีการสร้างพีระมิดหลวงขึ้น พีระมิดเดิมเป็นเนินฝังธรรมดาสร้างตามความเชื่อลึกลงไปใต้ดินเพื่อเก็บมัมมี่ ณ วันนี้ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าชาวอียิปต์โบราณสร้างพีระมิดอย่างไร

โมอายหินขนาดใหญ่ : มีขนาด20-80ตัน และการเคลื่นย้ายไปตำแหน่งที่ต้องการ ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมอายยังไม่เป็นที่แน่ชัด การขนย้ายโมอายก็เช่นกัน

สโตนเฮนจ์ : เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่112ก้อน ตั้งเป็นวงกลมซ้อนกัน3วง มีชื่อเสียงในฐานะกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์การสร้างอย่างชัดเจน(1ใน7สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง) อายุคาดว่าราวๆ5,000ปีก่อน จึงเกิดความสงสัยเรื่องการสร้างเพราะหินมีหน้ำหนักมากถึง30ตัน และต้องลากก้อนหินมาจากที่อื่น

กำแพงเมืองจีน : สร้างขึ้นในราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันพวกซยงหนูและพวกเติร์ก แต่มีเผ่ามองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงได้ ยาว21,196.18กิโลเมตร นับเป็น1ใน7สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง

โดยสรุปคือ ไม่ว่าอาณาจักรไหนล้วนต้องอาศัยวิธีการบริหาร
ที่อย่างน้อยต้องเกี่ยวข้องกับการประสานงาน การควบคุม และการมีศูนย์กลางการสั่งการ
โดยเชื่อว่ายุคโบราณตอนปลาย เป็นระบบมากกว่าโดยผ่านกระบวนการทางการเมือง
ส่วนยุคโบราณตอนต้นมีรากฐานมาจากความเชื่อ ศรัทธา หรือการบูชาเทพพเจ้า

-------------------


2.) "แนวคิดการบริหารสมัยใหม่ และการบริหารร่วมสมัย" แนวคิดการบริหารได้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่สิ่งที่ช่วยเร่งคือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีการผลิต และปัจจัยด้านสังคม ที่เปลี่ยนโครงสร้างจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ไปจนถึงแนวคิดทางการเมือง"ทุนนิยม"และ"สังคมนิยม"

2.1) แนวคิดเดิมที่เชื่อว่าการบริหารมีรูปแบบตายตัวทำนายได้ ไม่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน
ทำให้ผู้บริหารที่คิดแบบเดิม จะเป็นผู้ที่มองโลกแบบหยุดนิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย
ทฤษฎีไร้ระเบียบและอื่นๆ จึงได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้บริหารควรมีสติให้มั่นในความอลวน ใช้สติปัญญาและความสามารถในการบริหารประคับประคอง
และรักษาเสถียรภาพขององค์การให้เคลื่อนตัวไปตามกระแสพลวัต เพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

2.2) แนวคิดการบริหารคือการแข่งขัน เริ่มถูกท้าทายมากขึ้น
จุดบอดของบริษัทใหญ่ คือการมุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อความเป็นเลิศแบบเดิมๆ
จะเป็นการเปิดช่องว่างให้บริษัทขนาดเล็กใช้ความแปลกใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ
เค้ายกตัวอย่างIBMในยุครุ่งเรืองกับบริษัทเล็กอย่างDEC
ลองไปหาอ่านกันดูเพิ่มเติมได้
เรื่องคือIBMขายของดี แต่แพงมากๆ
DECเลยขายของห่วยกว่าหน่อย แต่ราคาถูกกว่า10้เท่า
จนDECเข้ามาIBMจึงสูญเสียลูกค้าไปมาก
DECขึ้นมาเป็นอันดับ2รองจากIBMได้
แบบนี้เรียกว่า Low-end Disruption Innovation

แบบที่สองเรียกว่า New Market Disruption Innovation
เป็นการเสนอสินค้า หรือเทคโนโลยีใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆที่ไม่คู่แข่งใดตอบสนอง
คล้ายๆกลยุทธ์ Blue Ocean

2.3) แนวคิดการบริหารคือการมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นสากล เป็นแนวคิดที่ล้าสมัยแล้ว
เห็นได้ชัดในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ ซึ่งการรู้ภาษาสากลไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดขององค์การ
การบริหารต้องการลูกค้าที่หลากหลาย เช่น จีน สแกนดิเนเวีย ตะวันออกกลาง
จะช่วยสร้างความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนกว่าพึ่งพาภาษาสากลเพียงอย่างเดียว

2.4) แนวคิดการบริหารเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมีส่วนสำคัญในความสำเร็จของการบริหาร อาจจะเคยเป็นความจริง แต่ปัจจุบันพบว่าเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญกว่าในความสำเร็จของการบริหาร
คุณสมบัติของเทคโนโลยีที่เหมาะสมคือ ราคาถูก ค่าดูแลรักษาต่ำ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่ดี่ที่สุด ที่มีต้นทุนสูงกว่า จนทำให้สูญเสียความสามารถในการบริหาร

2.5) แนวคิดการบริหารสินค้าและบริการเป็นสากล เป็นที่ยอมรับและมีมาตราฐานอย่างการตั้งสถาบันISO
ในยุคหลังสมัยใหม่พบว่าเป็นเพียงเรื่องในอุดมคติ โดยธรรมชาติแล้วพบว่า
สินค้าและบริการมีความหลากหลาย มีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะด้านค่านิยม

2.6) การผลิตแบบจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการประหยัด ในปัจจุบันพบว่าไม่เป็นจริงเสมอไป
การผลิตจำนวนน้อยแต่ยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย จึงเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนา

2.7) การวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารในยุคสมัยใหม่ แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าในยุคสมัยใหม่
และยุคหลังสมัยใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การวางแผนกลยุทธ์ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นเรื่องในอุดมคติ เพราะไม่มีกลยุทธืใดที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
บริษัทจึงต้องมีนักกลยุทธ์ที่มีความสามารถสูงพอที่จะรู้ว่าควรจะต้องม่ีการเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

2.8) ตัวชี้วัดเชิงปริมาณมีความสำคัญในการบริหาร ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพไม่มีความสำคัญในการบริหาร
เพราะไม่สามารถวัดได้ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามหลังยุคสมัยใหม่ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณไม่ม่ีความสำคัญใดๆ
ถ้าไม่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโดยรวม

2.9) ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เช่น รสนิยม ความพึงพอใจของลูกค้า ความเชื่อมั่น จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า
ตัวชี้วันเชิงปริมาณอย่างยอดขายต่อเดือน แม้ส่วนใหญ่มีความแม่นยำน้อยกว่า

2.10) แนวคิดการบริหารคือการจัดการคนให้เหมาะสมกับงาน ถ้าจะแบ่งงาน ควรมุ่งการทำงานเป็นทีม
มากกว่ามุ่งสร้างคนเก่งในแต่ละส่วน ผู้บริหารทุกองค์การควรตระหนักว่า การลดงานลงโดยจ้างองค์การภายนอก
ถ้าเป็นงานที่ไม่สำคัญก็สามารถทำได้ แต่มีเงื่อนไขว่าถ้าองค์การต้องนำกลับมาทำเอง ต้องไม่สูญเสียความสามารถนั้นๆ
"งานดีๆบางอย่างสร้างได้ภายในวันเดียว แต่คนที่มีความสามารถต้องใข้เวลาพัฒนานานหลายปี"

2.11) การบริหารคือการจัดการให้สิ่งแวดล้อมเหมาะสมในการทำงาน แนวคิดใหม่ การบริหารคือการจัดการให้งานสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

2.12) แนวคิดการบริหารคือการใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรธรรมชาติ และสังคมให้ได้มากที่สุด ผลกระทบเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบ
ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในประเทศกำลังพัฒนา (อันนี้เห็นได้เลยจากฝุ่นPM2.5ในบ้านเราวันนี้)
ในยุคหลังสมัยใหม่ เริ่มมีการประกาศนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
บางแห่งมีนโยบายเพื่อเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ร่วมกันก่อตั้งโดยชุมชน เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

2.13) แนวคิดในยุคสมัยใหม่ที่ว่าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ แต่ในยุคหลังสมัยใหม่เป็นเรื่องยากและต้องใช้ทรัพยากรมาก
แนวคิดได้เปลี่ยนไปฝ่ายบริหารควรมีหน้าที่ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

2.14) แนวคิดที่ว่าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง นั้นส่งผลให้องค์การสูญเสียความสามารถเพราะ ผู้บริหารไม่สามารถแก้ไขปัญหา และสูญเสียความมั่นใจ
ในยุคหลังสมัยใหม่ ฝ่ายบริหารจึงควรมีหน้าที่ เปิดโอกาสให้สังคมตรวจสอบองค์การได้อย่างโปร่งใส
โดยการบริหารแบบใช้หลักธรรมาภิบาล ซึ่งนับว่าเป็นทางออกที่ดี

2.15) ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการให้การศึกษา การพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้าทันสมัย
ในช่วงแรกๆในยุคสมัยใหม่ได้รับการยอมรับ แต่ในยุคหลังไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป
ฝ่ายบริหารควรส่งเสริมให้องค์การหรือสังคมเกิดการเรียนรู้ และสร้างทางเลือกใหม่ๆ
เพื่อสร้างองค์การหรือสังคมให้เข้มแข็ง สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองและสามารถแก้ปัญหาได้ในยามวิกฤต เพราะลำพังฝ่ายบริหารไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

2.16) แนวคิดการบริหารที่ว่าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการรวมศูนย์การบริหารเพื่อสร้างเอกภาพ มีหน้าที่ในการสั่งการและควบคุม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนในคำสั่ง แต่ในยุคหลังข้อมูลข่าวสารเดินทางง่ายขึ้น
แนวคิดนี้จึงไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป ในยุคหลังสมัยใหม่ฝ่ายบริหารต้องมีหน้าที่ในการเรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันไป

โดยสรุปคือ แนวคิดการบริหารจะเห็นได้ว่ายุคโบราณ ยุคดั้งเดิม ยุคสมัยใหม่ ยุคหลังสมัยใหม่มีบริบทแตกต่างกับยุคปัจจุบันในหลายประเด็น
-- ด้านเทคโนโลยี
-- ด้านสังคมวัฒนธรรม
-- ด้านความร่วมมือในระดับชุมชนและสากล
-- ด้านปรัชญาการดำเนินชีวิต
-- ด้านหลักการบริหารจาก POLC ไปสู่ POLA
-- ด้านหลักการจัดการ แบ่งงานและรับผิดชอบร่วมกัน
-- ด้านการปกครอง และธรรมาภิบาล
-- ด้านปรัชญาการบริหาร
ถ้าอยากรู้รายละเอียดคร่าวๆ จะอยู่ในรูปตารางด้านล่าง







ปล. ทั้งหมดเขียนตามความเข้าใจล้วนๆ อันไหนเข้าใจผิดขอภัยด้วย วันไหนเข้าใจถูกจะเข้ามาแก้ไขให้ถูกต้องที่สุดต่อไป




















“ Death comes to all, but great achievements build a monument which shall endure until the sun grows cold. ” : Ralph Waldo Emerson


Goodluck,
Introvert man.

No comments:

Post a Comment