Monday, March 18, 2019

Read&Write : รูปแบบองค์การภาคเอกชน : Chapter 2-1

(Photo : vnconsult.com.vn)


รูปแบบองค์การภาคเอกชน
แบ่งออกเป็น 4ตอน
รอบนี้เป็นตอนที่2-1
ซึ่งเนื้อหาค่อนข้างเยอะ
จึงแบ่งออกเป็น2ตอนย่อย ไปลุยกัน
--------


ตอนที่2 รูปแบบองค์การธุรกิจเพื่อการเจริญเติบโตภายในประเทศ
- ตอนย่อยที่1นี้จะว่าไปด้วยเรื่องของ
รูปแบบการประกอบการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด
ว่ามีลักษณะความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
- ตอนย่อนที่2จะมีเรื่อง บริษัท (มหาชน) จำกัด และเรื่องโครสร้างการบริหารบริษัท
-----------

รูปแบบการประกอบการเจ้าของคนเดียว คือ
มีบุคคลเดียวเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินธุรกิจด้วยเงินทุน ความรู้ และสติปัญญาของตนเอง
โดยเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการขาดทุนหรือผลประโยชน์จากกำไรแต่เพียงผู้เดียว

ในทางกฏหมายตัวธรุกิจและเจ้าของถือเป็นบุคคลเดียวกัน
คือไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ทำให้การเสียภาษีนั้นเป็นการเสียภาษีแบบเงินได้บุคคลธรรมดา

ข้อได้เปรียบ
1. การจัดตั้งทำได้ง่าย
2. การรักษาความลับได้ดี
3. ความมีอิสระในการตัดสินใจ
4. ความพอใจสูงสุด
5. ความคล่องตัวในการ ปฏิบัติงาน
6. ผลกำไรทั้งหมดตกอยู่กับเจ้าของ
7. กฏหมายและข้อบังคับไม่เข้มงวด
8. การได้รับเครดิตดี
9. การเข้าถึงรสนิยมของลูกค้ารายบุคคลได้ดีกว่า
10. การเลิกกิจการทำได้ง่าย
11. การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครั้งเดียว

ข้อเสียเปรียบ
1. การรับผิดในหนี้โดยไม่จำกัด
2. โอกาสความก้าวหน้าของพนักงานมีจำกัด
3. อายุการดำเนินงานของกิจการมีจำกัด
4. การหาเงินมาเพิ่มทำได้ยาก
5. เจ้าของขาดความสามาถและประสบการณ์ในการบริหารงาน
6. การเสียเปรียบด้านการเสียภาษีเงินได้
7. การได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญมีจำกัด
8. ไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
------------------------


รูปแบบการประกอบการลักษณะห้างหุ้นส่วน คือ
มีบุคคลตั้งแต่2คนขึ้นไปทำสัญญตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อกระทำกิจกรรมร่วมกัน
เพื่อจะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น
แบ่งออกเป็น2ประเภท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ ต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดเหมือนกันทุกคน จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดต้องใช้ชื่อ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ประกอบชื่อห้างเสมอ
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะมีผู้เป็นหุ้นส่วน2จำพวกเสมอไป
จำพวกแรก จำกัดคามรับผิดในหนี้ของห้างเพียงไม่เกินจำนวนที่รับจะลงหุ้นเท่านั้น
จำพวกสอง รับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่มีขอบเขตจำกัดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
ต้องจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดเสมอ ใช้คำว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบเสมอ
ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดในหนี้ไม่จำกัดเท่านั้นที่จะได้เป็นผู้จัดการได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนสามารถเป็นผู้จัดการได้

นอกจากนี้ยังมีหุ้นส่วนพิเศษ บางลักษณะกฏหมายไทยยังไม่ยอมรับ
secret partners : หุ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญ แต่ไม่เปิดเผยชื่อว่าเป็นหุ้นส่วน
silent partners : หุ้นส่วนที่ไม่มีบทบาทสำคัญ แต่เข้ามาเพื่อผลของการแบ่งกำไร
dormant partners : หุ้นส่วนที่ไม่มีบทบาทสำคัญ และไม่เป็นเผยชื่อว่าเป็นหุ้นส่วน
nominal partners : หุ้นส่วนแต่ในนาม(หุ้นลม) ความจริงไม่ได้เป็นหุ้นส่วน แต่ต้องรับผิดในบรรดาหนี้เสมือนเป็นหุ้นส่วน

ข้อได้เปรียบ
1. หาเงินทุนได้มากกว่า
2. เป็นที่รวมความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในการจัดการ
3. จัดตั้งง่าย
4. ข้อจำกัดทางกฏหมายมีไม่มาก
5. ได้เครดิตที่ดีกว่า
6. สามารถกระจายความเสี่ยงได้
7. ความได้เปรียบด้านการเสียภาษี

ข้อเสียเปรียบ
1. การรับผิดในหนี้โดยไม่จำกัด
2. มีอายุการดำเนินงานที่ไม่ต่อเนื่อง
3. โอกาสที่จำเกิดปัญหาการขัดแย้งมีมาก
4. การถอนหุ้นหรือโอนหุ้นทำได้ยาก
5. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
------------------------


รูปแบบการประกอบการลักษณะบริษัทจำกัด คือ
มีการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงิน
ที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

บริษัทจำกัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฏหมาย
ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดมีความรับผิดชอบในหนี้จำกัด
บริษัทจำกัดเป็นบุคคลสมมติขึ้นโดยกฏหมาย
การดำเนินกิจการของบริษัทมีความต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
การแยกจากกันระหว่างผู้เป็นเจ้าของทุนและฝ่ายบริหาร

ประเภทของบริษัทจำกัด มีบริษัทจำกัด และ บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นต่ำกว่า100 คน ไม่น้อยกว่า3คน แต่ละคนไม่น้อยกว่า1หุ้น ทำการออกหุ้นกู้ไม่ได้
บริษัทมหาชนจำกัดมีผู้ถือหุ้น100คนขึ้นไป แต่เห็นว่าฉบับใหม่ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า15คนก็ได้แล้ว

ข้อได้เปรียบ
1. การจัดหาทุนทำได้ง่าย
2. การรับผิดในหนี้สินจำนวนจำกัด
3. การมีอายุอย่างไม่จำกัด
4. การโอนหุ้นทำได้ง่าย
5. การกระจายความเสี่ยงได้ดี
6. การใช้ประโยชน์จากนักบริหารอาชีพได้ดี
7. การขยายดกิจการทำได้ในขอบเขตที่กว้าง
8. ภาระการแบ่งเบาด้านภาษี

ข้อเสียเปรียบ
1. การจัดตั้งมีขั้นตอนยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
2. การเสียภาษีซ้ำซ้อน
3. การขาดความจังรักภักดีของฝ่ายจัดการต่อบริษัท
4. การขาดเสรีภาพในการปกปิดความลับ
5. การมีข้อจำกัดด้านเครดิต
6. มีกฏหมายและกฏข้อบังคับของรัฐควบคุมจำนวนมาก
------------------------

รูปภาพตารางแสดงการเปรียบเทียบที่กล่าวไปข้างต้น




ปล. ทั้งหมดเขียนตามความเข้าใจล้วนๆ อันไหนเข้าใจผิดขอภัยด้วย วันไหนเข้าใจถูกจะเข้ามาแก้ไขให้ถูกต้องที่สุดต่อไป



















“ Stay positive and happy. Work hard and don't give up hope. Be open to criticism and keep learning. Surround yourself with happy, warm and genuine people. ” : Tena Desae


Goodluck,
Introvert man.

No comments:

Post a Comment