Sunday, February 10, 2019

Read&Write : รูปแบบองค์การภาคเอกชน : Chapter 1

(Photo : ba.ru.ac.th)


รูปแบบองค์การภาคเอกชน
แบ่งออกเป็น 4ตอน
รอบนี้เป็นตอนที่1 ไปลุยกัน
--------


ตอนที่1 แนวคิดเกี่ยวกับองค์การธุรกิจภาคเอกชน
ธรุกิจภาคเอกชนมีทั้งแสวงหากำไร และไม่แสวงหากำไร

บทบาทหน้าที่ของหน่วยธุรกิจต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ
- แปรสภาพทรัพยากรให้เป็นผลผลติในรูปแบบของสินค้าและบริการที่มีอรรถประโยชน์สูงกว่า
- เป็นแหล่งจ้างงานที่ช่วยกระจายรายได้ไปยังชุมชนและท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ
- เป็นตัวช่วยกระจายความเจิรญ โดยกระจายสินค้าและบริการไปยังท้องถิ่นต่างๆ
- เป็นแหล่งรายได้ทางภาษีให้กับรัฐ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมและประเทศ
- เป็นตัวช่วยสร้างและเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ โดยจำหน่ายสินค้าไปยังต่างประเทศ
- เป็นตัวช่วยการสร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพื่อยกระดับชีวิตของคนในสังคม

ภาพที่แปะไว้ต้องพิจารณาสักหน่อย
จะเห็นได้ว่าทุกส่วนมีบทบาทหน้าที่ของตัวเอง
------------------------


ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกรูปแบบองค์การธุรกิจภาคเอกชน
กิจการธุรกิจเอกชนในปัจจุบันมีการประกอบการพิ้นฐาน 3 รูปแบบคือ
- การประกอบการเจ้าของคนเดียว
- การประกอบการห้างหุ้นส่วน
- การประกอบการบริษัทจำกัด
การเลือกรูปแบบการประกอบการถือเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของการดำเนินธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ
รูปแบบต่างๆมีข้อได้-เสียแตกต่างกัน ขึ้นกับความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อมของตัวธรุกิจ

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกรูปแบบการประกอบธุรกิจ
1.) ความยากง่ายของการก่อตั้ง
---- เจ้าของคนเดียวก่อตั้งง่ายสุด ค่าธรรมเนียมต่างๆน้อยที่สุด
2.) ขอบเขตของความรับผิดชอบในหนี้
---- ความรับผิดในหนี้มีขอเขตจำกัดหรือไม่ เช่น ชดใช้หนี้เฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ
3.) ความคล่องตัวของการปฏิบัติการ
---- รูปแบบเจ้าของคนเดียวคล่องที่สุด แต่ต้องพิจารณาให้ดี เพราะเจ้าของจะมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การ
4.) ความยากง่ายของการจัดหาเงินทุน
---- รูปแบบบริษัทจะเอื้อให้สามารถจัดหาเงินทุนได้ง่ายกว่า เพราะบริษัทจำกัดสามารถที่จะระดมทุนโดยการนำหุ้นทุนออกขายให้กับผู้สนใจทั้วไปได้
5.) สิทธิในการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ
---- เจ้าของคนเดียวมรสิทธิมากที่สุด ถ้าเป็นบริษัทจำกัดจะให้สิทธิกับผู้บริหารที่จ้างมา และกฏหมายจะกำหนดว่าผู้ถือหุ้นมีสิทธิทำอะไรได้บ้าง
6.) การรักษาความลับ
---- ธุรกิจขนาดเล็กมักหันไปเป็นเจ้าของคนเดียวมากกว่า เพราะรักษาความลับได้ดี อย่างบริษัทจำกัดจะต้องเปิดเผยการดำเนินงานต่อสาธารณะ
7.) ความมีอิสระจากการควบคุมโดยรัฐ
---- เจ้าของคนเดียวมีอิสระมากสุด บริษัทจำกัดมีผลกระทบถึงคนจำนวนมากเลยทำให้มีอิสระน้อยที่สุด
8.) ปัจจัยด้านกฏหมาย
---- มีบางธุรกิจต้องจดแบบบริษัทจำกัดเท่านั้น เช่น อะไรที่เกี่ยวกับธนาคาร การขุดเจาะน้ำมัน
9.) ความมั่นคงและความต่อเนื่องของการดำเนินงาน
---- เจ้าของคนเดียวต่ำที่สุด ห้างหุ้นส่วนขึ้นกับอายุของหุ้นส่วน บริษัทจำกัดดำเนินงานได้ตลอดไป
10.) ปัจจัยด้านภาษี
---- บริษัทจำกัดจะต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน และเสียภาษีทุกครึ่งปี ส่วนเจ้าของคนเดียวเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ถ้ารายได้สูงอาจจะเสียเปรียบเพราะโดนภาษีแบบอัตราก้าวหน้า
11.) การเติบโตและการขยายธุรกิจ
---- ความใหญ่ถือเป็นความได้เปรียบ ทั้งด้านต้นทุน คุณภาพ ความน่าเชื่อถือ ความสามารถของบุคลากร บริษัทจำกัดจะเอื้อต่อการขยายกิจการได้ดีกว่า
12.) ความสามารถทางการแข่งขัน
---- บริษัทจำกัดมีความพร้อมที่ดีกว่า ทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยี ระบบการผลิต การบริหารที่รวดเร็ว
13.) ความซับซ้อนของโครงสร้างการบริหาร
---- เจ้าของคนเดียวน้อยที่สุด บริษัทจำกัดซับซ้อนมากที่สุด เพราะมีแบ่งงานกัน นำไปสู่ประสิทธิภาพที่สูงและต้นทุนที่ต่ำ

ต่อไปจะเป็นแผนภาพและข้อสังเกตให้ไปดูกัน
ว่าโครงสร้างการบริหารของแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไร

(เจ้าของคนเดียว)

(ห้างหุ้นส่วน)

(บริษัทจำกัด)
------------------------




ปล. ทั้งหมดเขียนตามความเข้าใจล้วนๆ อันไหนเข้าใจผิดขอภัยด้วย วันไหนเข้าใจถูกจะเข้ามาแก้ไขให้ถูกต้องที่สุดต่อไป



















“ All you need is the plan, the road map, and the courage to press on to your destination. ” : Earl Nightingale


Goodluck,
Introvert man.

No comments:

Post a Comment