Friday, February 01, 2019

Read&Write : แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร : Chapter 4

(Photo : senate.go.th)


แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร
แบ่งออกเป็น 4ตอน
รอบนี้เป็นตอนที่4 ไปลุยกัน
--------


แนวความคิดในยุคคลาสสิก ทรงอิทธิพลตั้งยุค1930
คุณลักษณะร่วมกันของแนวคิดในยุคคลาสสิกได้แก่
- องค์การมีขึ้นเพื่อการผลิตและตอบสนองต่อเป้าหมายทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
- เชื่อในวิธีที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว และวิธีดังกล่าวสามารถค้นพบได้ด้วยการแสวงหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์
- การผลิตที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำได้โดยใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน และการแบ่งงานกันทำ
- มองมนุษย์และองค์การเป็นหน่วยที่มีเหตุผลในการตัดสินใจ ทุกการกระทำมีการคิดคำนวณประโยชน์ตามหลักเศรษฐศาสตร์
- มององค์การเป็นระบบปิด เน้นการปรับสภาพแวดล้อมภายในเป็นหลัก

แนวทางการบริหารในยุคคลาสสิกนี้ ประกอบไปด้วยแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์การจัดการของFrederick W, Taylor แนวความคิดระบบราชการของMax Weber แนวความคิดหลักการบริหารของ Henri Fayol และของ Lyndall Urwick & Luther Gulick

Frederick W. Taylor : ใช้หลักวิทยาศาสตร์การจัดการ คนงานทำงานร่วมกัน ได้ประโยชน์ร่วมกัน
Max Weber : แนวคิดระบบราชการในอุดมคติ เป็นต้นแบบระบบราชการทั่วโลก
Henri Fayol : เน้นไปที่ฝ่ายบริหาร มีองค์ประกอบคือ POCCC**
**POCCC = Planning - Oraganizing - Commanding - Co-ordinating - Controlling
**POCCC = การวางแผน - การจัดการองค์การ - การสั่งการ - การประสานงาน - การควบคุม

Lyndall Urwick & Luther Gulick : หลักการบริหารแบบ POSDCORB***
***POSDCORB = Planning - Organizing - Directing - Staffing - Co-ordinating - Reporting - Budgeting
***POSDCORB = การวางแผน - การจัดการองค์การ - การสั่งการ - การบริหารงานบุคคล - การประสานงาน - การรายงาน - การงบประมาณ

เราจะเห็นได้ว่าทั้งสองคนเน้นไปที่การจัดโครงสร้างภายใน ไม่ได้สนใจเรื่องสภาพแวดล้อมภายนอกและมนุษยสัมพันธ์มากนัก ทำให้นั่นเป็นจุดอ่อนของแนวความคิดที่ถูกโจมตี
-------------------------



แนวความคิดยุคพฤติกรรมศาสตร์
ความเชื่อ และลักษณะที่สำคัญของแนวความคิดในยุคพฤติกรรมศาสตร์ได้แก่
- องค์การตั้งอยู่เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์
- องค์การกับมนุษย์ต่างต้องการซึ่งกันและกัน
- หากความต้องการขององค์การไม่สมดุลกับความต้องการของคนในองค์การ จะเกิดภาวะหาประโยชน์จากกันและกัน
- ในความสำคัญกับพฤติกรรมและแรงจูงใจของคน
- องค์การที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่ใช่เพียงปัจจัยเรื่องวิธีการทำงาน หรือการจัดองค์การ แต่เกี่ยวข้องกับคนที่อยู่ในองค์การด้วย

แนวคิดทางการบริหารในยุคพฤติกรรมศาสตร์นั้น ประกอบด้วยกลุ่มไม่เป็นทางการของElton Mayo แนวคิดศาสตร์การบริหารของ Herbert A. Simon แนวความคิดระดับชั้นความต้องการของ Abraham H. Maslow แนวความมคิดปัจจัยสุขวิทยาและแรงจูงใจของ Frederick Herzberg และ ทฤษฎีX-Yของ Douglas McGregor

Elton Mayo : คนงานไม่ได้ทำงานหวังเพียงผลตอบแทนอย่างเดียว แต่ต้องการความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มเพื่อนร่วมงานด้วย

Herbert A. Simon : การบริหารเป็นเรื่องของพฤติกรรมการตัดสินใจ และมนุษย์ได้ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลที่สมบูรณ์แท้ มนุษย์จึงแสวงหาความพึงพอใจแทนประโยชน์สูงสุด

Abraham H. Maslow : เมื่อมนุษย์แสดงพฤติกรรมใดๆออกมา เป็นผลมาจากความต้องการในขั้นต่างๆ
ซึ่งเมื่อได้ขั้นหนึ่งแล้วก็ต้องการในขั้นสูงถัดไป มี5ขั้นดังนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย : เป็นความต้องการพื้นฐานต่างๆในชีวิต
2. ความต้องการความปลอดภัย : เมื่อได้ความต้องการทางร่างกายแล้ว จึงต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการความรัก : เมื่อมีทั้งสองแล้ว มนุษย์จึงต้องการความรัก หรือการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
4. ความต้องการความนับถือในตนเอง : และมนุษย์ก็ต้องการความนับถือซึ่งเป็นภาพสะท้อนมาจากคนอื่น เช่น การได้รับรางวัล คำชมเชย
5. ความต้องการประจักษ์ตน : ขั้นนี้เป็นความต้องการรู้สึกประสบความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีความสุขที่ชีวิตได้รับการเติมเต็มแล้ว

Frederick Herzberg : ค้นพบปัจจัยในการพอใจและไม่พอใจในการทำงานเป็น2ปัจจัย
1. ปัจจัยด้านสุขวิทยา : สภาพแวดล้อม เครื่องมีอ สิ่งอำนวยความสะดวก เงินเดือน ความสัมพันธ์อันดีของเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา
2. ปัจจัยจูงใจ : เช่น ลักษณะงาน ความก้าวหน้าในการงาน โบนัส การได้รับการยอมรับ ได้รับงานที่มีความสำคัญต่อองค์การ

Douglas McGergor : เชื่อว่าการจูงใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของคน คนมีธรรมชาติต่างกันโดยแบ่งเป็น2ประเภทคือ คนแบบXและY
ทฤษฎีX : มองว่าธรรมชาติของคนไม่ชอบทำงาน เลี่ยงงานให้มากที่ เอาประโยชน์ใส่ตนให้มาก ไม่ความคิดสร้างสรรค์ ชอบทำตามคำสั่ง ขาดความกระตือรือร้น
ทฤษฎีY : มองว่าธรรมชาติของคนตรงข้ามกับX ชอบทำงาน มีความรับผิดชอบ รักความก้าวหน้า มีความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์
ดังนั้นการที่มีคนสองแบบที่ตรงข้ามกัน และในองค์การก็ต้องมีคนทั้งสองแบบรวมกันอยู่ และก็ไม่ได้หมายความคนหนึ่งคนจะเป็นแบบใดแบบหนึ่งไปทั้งหมด การจัดการจูงใจคนเหล่านั้นควรมีความแตกต่างกัน ผสมผสานวิธีการจูงใจให้เหมาะสม
-------------------------


แนวความคิดสมัยใหม่ มีความซับซ้อนมากขึ้น เน้นไปที่เครื่องมือทางการบริหาร และเป็นระบบมากขึ้น
แนวความคิดเชิงระบบ
สรุปสาระสำคัญของแนวคิดเชิงระบบได้ดังต่อไป
1. เป้าหมายขององค์การคือการอยู่รอด องค์การต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
2. องค์การไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว กระบวนการผลิตได้เกิดขึ้นและจบในตัวเอง
3. ความสัมพันธ์ของกระบวนการภายในเป็นระบบ Input Process Output Feedback
4. การรักษาสมดุลภายในเป็นระบบ ให้คงที่มีเสถียรภาพแม้สภาพแวดล้อมภายนอกจะเปลี่ยนแปลง
5. ไม่เชื่อในวิธีที่ดีที่สุดว่ามีวิธีเดียว แต่เชื่อว่ามีวิธีบรรลุเป้าหมายที่ดีที่สุดที่แตกต่างกัน
6. องค์การมีความหลากหลายภายใน เสมือนอวัยวะภายใน มีหน้าที่ต่างกันแต่ทำงานประสานกัน
7. เชื่อในความสัมพันธ์เชิงเหตุผล องค์การที่สมบูรณ์แบบด้วยเทคโนโลยีสร้างOutcomeที่ดีที่ต้องการได้
8. องค์การถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมหรือบริบท ทั้งเป้าหมาย กิจกรรม ผลลัพธ์ ปละประสิทธิผล



แนวความคิดในกลุ่มเครื่องมือทางการบริหาร
เป็นแนวความคิดที่รับจากภาคเอกชน ได้เกิดแนวความคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ดังนี้
1. มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ เชื่อว่ารัฐควรมีบทบาทน้อยที่สุด
การบริหารสาธารณะจึงไม่จำเป็นต้องผูกขาดหน้าที่ไว้กับภาครัฐ
บริหารอย่างไรให้คนหมู่มากได้ประโยชน์มากที่สุด และพึงพอใจมมากที่สุดจึงจะถูกต้อง
2. อิทธิพลของการจัดการนิยม ฝ่ายบริหารและพนักงงานตกลงในเป้าหมายและวางแผนร่วมกัน
มีการประเมินตามเกณฑ์ต่างๆ
-------------------------





ปล. ทั้งหมดเขียนตามความเข้าใจล้วนๆ อันไหนเข้าใจผิดขอภัยด้วย วันไหนเข้าใจถูกจะเข้ามาแก้ไขให้ถูกต้องที่สุดต่อไป




















“ Tough times don't last, tough people do, remember? ” : Gregory Peck


Goodluck,
Introvert man.

No comments:

Post a Comment